.........ปูยุดคนงาม......
...ลือนามมะตะบะ.....
......ชนะเลิศนกเขา.......
......เล่าขานทุเรียน........
..พากเพียรช่างทอง......
...เรืองรองธุรกิจ.......
ด ารงหมู่บ้านโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ตามแนวทางของ ศอ.บต. อ าเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
คือ
โครงการกลุ่มแม่บ้านผลิตโรตีกรอบและขนมว่าง
โครงการกลุ่มเยาชนผลิตเรือกอและจ าลอง
โครงการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย
โครงการกลุ่มสมาชิกตัดเย็บเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายมุสลิม
โครงการกลุ่มสมาชิกเลี้ยงเป็ดเทศ
โครงการเลี้ยงไก่พื้นเมือง
โครงการอบรมจริยธรรม
ให้ประสบผลส าเร็จ
ค ำขวัญของหมู่บ้ำนปูยุด
วิสัยทัศน์ของหมู่บ้านปูยุด
หากจะกล่าวถึงประวัติศาสตร์ปูยุด จะต้องล าดับเหตุการณ์ของการตั้งเมืองปัตตานีเป็นส าคัญ ด้วยเหตุว่า
ครั้งหนึ่งเมืองปูยุดได้ด ารงสถานะเป็นเมืองของราชอาณาจักรมลายูปัตตานี แม้จะเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ภาพใต้
สงครามกลางเมืองระหว่างราชวงศ์ก็ตาม
ในสมัยของสุลต่านอิสมาเอลชาห์ ได้มีการย้ายพระนครโกตามหลิฆัย (เมืองปราสาทหรือพระเจดีย์) หรือ
ลังกาสุกะ (ตั้งอยู่ในท้องที่อ าเภอยะรังในปัจจุบัน) มาสร้างพระนครใหม่ขึ้นที่สันทราย บริเวณต าบลตันหยงลุโละ
ต าบลบานา หมู่บ้านกรือเซะ ในท้องที่อ าเภอเมืองปัตตานีปัจจุบัน โดยพระองค์ทรงพระราชทานนามเมืองนี้ว่า
“ปัตตานี ดารุสลาม” (นครแห่งสันติ) เหตุที่ทรงย้ายพระนครในครั้งนั้ เนื่องจากสาเหตุที่พญาอินทิรา (พระนาม
เดิมของสุลต่านอิสมาเอลชาห์) เปลี่ยนจากนับถือศาสนาพุทธมารับนับถือศาสนาอิสลาม และได้มีการท าลาย
พระพุทธรูป เทวรูป และโบราณสถาน ในเมืองโกตามหลิฆัย หรือลังกาสุกะไปจนหมดสิ้น
ข้อความในหนังสือ Purchase-his Pilgrimage ของชาวอังกฤษ บรรยายถึงสภาพสังคมและบ้านเมืองใน
ปัตตานีสมัยนั้นว่า
“ปัตตานีเป็นนคร นครหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางใต้ของสยาม อาคารบ้านเรือนเป็นไม้แฝก แต่เป็นงานสร้างด้วยมือ
อย่างมีศิลปะ มีสุเหร่าหลายแห่งก่อด้วยอิฐ มีชาวจีนมากกว่าชาวพื้นเมือง (หมายถึงเมืองท่าที่เป็นบริเวณ
ศูนย์การค้า) พลเมืองมรการใช้ภาษา 3 ภาษา คือ ภาษามลายัน ภาษาไทยและภาษาจีน ชาวจีนสร้างศาลเจ้า ชาว
ไทยพุทธสร้างพระพุทธรูป พระสงฆ์นุ่งเหลืองห่มเหลือง ชาวปัตตานีนับถือศาสนาพระมะหะหมัด(ศาสนาอิสลาม)
ชาวจีนและชาวสยามนับถือศาสนา “Ethniks” (เข้าใจว่าตรงกับลัทธิเคารพบูชาบรรพบุรุษของขงจื้อ ดูหนังสือภูมิ
หลังของไทยและแหลมทองเขียนโดยไพโรจน์ โพธิ์ไทร”
สุลต่านอิสมาเอลชาห์ (พญาอนทิรา)ครองเมืองปัตตานีอยู่เป็นเวลา 45 ปี พญาโกรุปพิชัย พิทักษ์ราชบุตร
ทรงเฉลิมพระนามใหม่ตามประเพณีศาสนาว่า สุลต่านมาดฟาร์ชาร์ ได้มีการท านุบ ารุงบ้านเมืองและการศาสนา
โปรดให้สร้างสุเหร่า (มัสยิด) ขึ้นตามชุมนุมชน เพื่อให้ราษฏรได้ใช้ปฏิบัติศาสนกิจทั่วพระนคร และโปรดให้เชิญ
ผู้เชี่ยวชาญศาสนาอิสลามมาจากเมืองปาไซ ชื่อเช็คซาฟีนุดดีน มาเป็นผู้บรรยายหลักธรรมแก่ข้าราชการในราช
ส านัก เพื่อน าความรู้ออกเผยแพร่แก่อิสลามตามชนบท แม้กระทั่งชาวเมืองโกตามหลิฆัย (ลังกาสุกะ) ก็พากัน
ยอมรับนับถือศาสนาอิสลามตามไปด้วย
สุลต่านมาดฟาร์ชาร์ ได้เสด็จไปเฝ้ากษัตริย์อยุธยาเนือง ๆ (ด้วยพระองค์ตรัสว่ากษัตริย์อยุทธยา(สมเด็จพระ
มหาจักรพรรดิ เป็นพระญาติของพระองค์) และได้รับพระราชทาน เชลยทาสมาเป็นก าลังเมือง เมื่อสุลต่านมาดฟาร์
ชาร์เสด็จกลับมายังเมืองปัตตานี ทรงโปรดให้เชลยทาสไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านกฎี (ในท้องที่อ าเภอยะหริ่งต่อเขต
อ าเภอปะนาเระบริเวณหมู่บ้านนี้ยังมีซากเจเดีย์ ปรากฏอยู่เป็นหลักฐานและอีกแห่งหนึ่งอยู่ที่บ้านกฎีอ าเภอยะหริ่ง
ต่อเขตอ าเภอเมืองปัตตานี)
ปีที่สุลต่านมาดฟาร์ชาห์สิ้นพระชนม์ ปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ตรงกับปี พ.ศ.2092
ขณะนั้นพระราชโอรสของสุลต่านมาดฟาร์ชาห์ยังทรงพระเยาว์ สุลต่านมันดูรชาห์ พระอนุชาก็ได้สถาปนาขึ้นเป็น
กษัตริย์ปกครองเมืองปัตตานี รัชสมัยสุลต่านพระองค์นี้ ปัตตีได้ประสพกับภาวะสงครามโดยสุลต่านเมืองปาเล็มบัง
ในเกาะสุมาตรา ยกกองทัพเรือมาปล้นเมืองปัตตานี 2 ครั้ง แต่ชาวเมืองปัตตานีก็สามารถปกป้องเมืองไว้ได้ ครั้นปี
พุทธศักราช 2101 สุลต่านมันดูร์ชาห์ก็สิ้นพระชนม์ รวมเวลาที่ปกครองปัตตานีอยู่เพียง 9 ปี ก่อนที่พระองค์จะ
สิ้นพระชนม์ได้ทรงมอบหมายให้มุขมนตรี เสนาบดี ให้แต่งตั้งสุลต่านปาเตะเซียมมีพระชนมายุเพียง 9 พรรษา รานี
ไอเซาะ พระมาตุจฉาเจ้า ซึ่งเป็นพระมเหสีหม้ายของสุลต่านเมืองสายที่สิ้นพระชนม์ไปแล้ว ได้รับหน้าที่เป็นผู้ส าเร็จ
ราชการแทนพระองค์ยุวกษัตริย์
เจ้าหญิงไอเซาะได้ด ารงต าแหน่งผู้ส าเร็จราชการอยู่ได้เพียง 1 ปี เกิดขัดแย้งกับบรรดาข้าราชการและพระ
บรมวงศานุวงค์ ซึ่งมีรายามาบัง และรายาบิมาเป็นหัวหน้า สมคบกับทหารรักษาพระราชส านักท าการขบถ ลักลอบ
เข้าไปปลงพระชนม์สุลต่านปาเตะเซียมและเจ้าหญิงไอเซาะในอิสตานา(พระราชวัง)
สุลต่านบาฮ์โดร์ชาร์ ราชโอรสของสุลต่านมันดูร์ชาห์ ได้รวบรวมทหารที่จงรักภักดีท าการปราบปรามพวก
ขบถจนราบคาบ และทรงขึ้นครองเมืองปัตตานีสืบมาในปี พ.ศ.2101 ถึงปี พ.ศ.2135 รวมเป็นเวลา 35 ปี ก็
สิ้นพระชนม์ เนื่องจากไม่มีพระโอรส มีแต่พระธิดา 3 พระองค์ คือ เจ้าหญิงฮียา เจ้าหญิงบีรู และเจ้าหญิงอูงู
บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์และมุขมนตรี จึงได้ประชุมปรึกษา มีมติแต่งตั้งให้เจ้าหญิงฮียาขึ้นครองเมืองปัตตานี
นับเป็นปฐมกษัตริย์ในราชวงศ์โกตามหลิฆัยที่มีพระราชินีเป็นผู้ปกครองพระนคร
เจ้าหญิงฮียาสิ้นพระชนม์ลงในปี พ.ศ.2159 เจ้าหญิงบัรูพระขนิษฐาองค์รองได้รับการสถาปนาขึ้นด ารง
ต าแหน่งราชินีแห่งเมืองปัตตานี ต่อมาทางเมืองปาหัง (ปัจจุบันเป็นรัฐหนึ่งในประเทศมาเลเซีย) สุลต่านผู้เป็นพระ
สวามีของเจ้าหญิงอูงู พระขนิษฐาของพระนางบีรู ได้สิ้นพระชนม์ลง พระนางจึงให้น าขบวนออกไปเชิญเจ้าหญิงอูงู
และเจ้าหญิงกูนิง พระเจ้าหลานเธอ เสด็จกลับมาประทับอยู่เมืองปัตตานี
ครั้นเจ้าหญิงบีรูสิ้นพระชนม์ลงในปี พ.ศ.2183 บรรดามุขมนตรีแห่งเมืองปัตตานีได้ประชุมปรึกษาลงมติ
ยกเจ้าหญิงอูงู พระขนิษฐาองค์เล็ก ซึ่งเป็นมเหสีม่ายสุลต่านปาหัง ขึ้นปกครองเมืองปัตตานี ต่อมา สุลต่านเมืองยะ
โฮร์ (ปัจจุบันเป็นรัฐหนึ่งในประเทศมาเลเซียมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศสิงคโปร์) ได้ส่งทูตมาสู่ขอเจ้าหญิงกูนิง
ราชธิดาของพระนางอูงู ให้แก่ราชโอรส (ยังดี เปอรตู วันมูดอ ) พิธีอภิเษกสมรสได้จัดขึ้น ณ เมืองปัตตานี ใน
ท่ามกลางแขกเมืองใกล้เคียง และพ่อค้าวาณิชย์ชาวต่างประเทศที่เข้ามาท าการค้าอยู่ในเมืองปัตตานีเป็นจ านวนมาก
หลังจากการอภิเษกสมรสแล้ว ยังดี เปอรตูมูดอ (ยะโฮร์) ก็ยังคงอยู่ช่วยเหลือราชการ ณ เมืองปัตตานี ไป
จนกระทั่งเจ้าหญิงอูงูสิ้นพระชนม์ลงในปี พ.ศ.2200 เจ้าหญิงกูนิงก็ได้รับการแต่งตั้งให้ขึ้นด ารงต าแหน่งราชินีเมือง
ปัตตานีเป็นองค์สุดท้ายแห่งกษัตริย์ราชวงศ์โกตามหลิฆัย ต่อมาในปี พ.ศ.2230 เจ้าหญิงกูนิงก็ได้สิ้นพระชนม์ลง
เนื่องจากไม่มีสืบเชื้อสายราชวงศ์โกตามหลิฆัย มุขมนตรีเมืองปัตตานี ต่างก็มีมติยก อาลงบาตง บุตรบุญธรรมของ
เจ้าหญิงเป็นเจ้าเมืองปัตตานีคนต่อมา
สยาเราะห์เมืองปัตตานี กล่าวว่า หลังจากอาลงบาตงถึงแก่กรรมแล้ว พระมาหากษัตริย์กรุงสยามได้แต่งตั้ง
รายาบากา ชาวบ้านตะโละ (อ าเภอยะหริ่ง) มาเป็นเจ้าเมืองปัตตานีอยู่ชั่วระยะหนึ่งก็ถึงแก่กรรม รายามัสจากเมือ
งกลันตันก็ได้รับการแต่งตั้งให้มาเป็นเจ้าเมืองปัตตานี มีธิดาชื่อมาสจายันได้ปกครองเมืองปัตตานีสืบต่อมา
เมื่อนางมาสจายันถึงแก่กรรม มุขมนตรีเมืองปัตตานีจึงแต่งตั้งให้ ลองยุนุส ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากอาลงบาตง
เจ้าเมืองปัตตานีคนก่อนขึ้นเป็นเจ้าเมืองปัตตานี ลองยุนุสมีพี่น้อง 3 คน แต่ต่างมารดากัน คือ ระตูปกาลัน (เจ้า
เมืองสายบุรี) ,ระตูปูยุด และอาลงตารับ ลองยุนุสได้สร้างมัสยิดขึ้นหลังหนึ่ง คือ มัสยิดที่บ้านกรือเซะในปัจจุบัน
บ้างก็เรียกว่ามัสยิด กรือบัน ขณะที่ก าลังสร้าง มัสยิดจวนจะเสร็จ ระตูปะกาลัน เจ้าเมืองสายบุรีผู้น้อง ได้ก่อการ
กบฏขึ้น ลองยุนสได้น ากองทัพไปปราบปรามพวกกบฏและได้เสียชีวิตลง ด้วยเหตุนี้ มัสยิดปินตูกรือบัน จึงถูก
ทอดทิ้ง มิได้มีการสร้างต่อเติม เนื่องจากนายช่างผู้สร้างก็ได้หายสาบสูญไปพร้อมกับสงครามกลางเมืองในคราวนั้น
หลังจากสุลต่านลองยุนุสถึงแก่กรรม ประวัติเมืองปัตตานีได้กล่าวต่อไปว่า “ บ้านเมืองไม่มีปกติสุข การตีชิง
ปล้นสะดมกันมิขาด” ผู้ที่ได้รับต าแหน่งเจ้าเมืองคนต่อมาคือระตูจาระกันและระตูปูยุด เป็นคนถัดมา
ในสมัยที่ระตูปูยุดเป็นเจ้าเมืองปัตตานี ประวัติปัตตานีได้กล่าวไว้ว่า ได้ย้ายที่ตั้งเมืองปัตตานียังคงมี
ซากก าแพงดินและไม้ไผ่ปลูกไว้บนบนเนิน เป็นคูค่ายปรากฏอยู่
เมื่อระตูปูยุดถึงแก่กรรม ชาวบ้านดูวา (อยู่ในเขตท้องที่อ าเภอมายอ) ได้สถาปนาตนขึ้นเป็นสุลต่าน มีนาม
ว่าสุลต่านอาหะหมัดขึ้นครองเมืองปัตตานี เช่นเดียวกับเมืองนครศรีธรรมราช ปลัดเมือง (หนู) ก็ได้ตั้งตนเป็นเจ้าผู้
ครองนครฯ ทั้งนี้เพราะกรุงศรีอยุธยาเสียกรุงแก่พม่า ไร้กษัตริย์ปกครอง หัวเมืองต่าง ๆ ในปักษ์ใต้พากันตั้งตนเป็น
อิสระหมด
โดยสรุปแล้ว ต าบลปูยุดจึงมีความส าคัญทางประวัติศาสตร์ในฐานะเมืองหลวงของอาณาจักรปัตตานี
มีชื่อตามพระนามของเจ้าผู้ครองเมืองคือ “ระตูปูยุด” ไว้เป็นอนุสรณ์มาตราบเท่าทุกวันนี้ และมีลูกหลานสืบ
เชื้อสายเจ้า ซึ่งใช้ค าน าหน้าชื่อว่า ซาเฮดหรือ ไซร์ ต่วน,นิ ,เจ๊ะ, แว,ตามล าดับ
ข้อมูลทั่วไป
***********************
1. สภาพทั่วไป
1.1 ที่ตั้ง
บ้านปูยุด หมู่ที่ 7 เป็นหนึ่งในจ านวน 7 หมู่บ้าน ของต าบลปูยุด อ าเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ตั้งอยู่ทางทิศ
ตะวันตกของส านักงานบริหาราชการต าบลปูยุด ระยะห่างจากที่ว่าการอ าเภอเมืองปัตตานี 8 กิโลเมตร
1.2 เนื้อที่
บ้านสุงากาลี หมู่ที่ 7 มีเนื้อที่ประมาณ 532 ไร่
1.3 ภูมิประเทศ
บ้านปูยุด หมู่ที่ 7 มีลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มง่ายต่อการเกิดน้ าท่วมฤดูน้ าหลากในช่วงฤดูฝน
และมีแม่น้ าปัตตานี ซึ่งเป็นแม่น้ าที่ส าคัญ มีน้ าไหลผ่านตลอดปี สามารถใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตรและการปศุ
สัตว์
อาณาเขต
ทิศเหนือ จดต าบลบาราเฮาะ
ทิศใต้ จดหมู่ที่ 1 ต าบลปูยุด
ทิศตะวันออก จดหมู่ที่ 6 ต าบลปูยุด
ทิศตะวันตก จดหมู่ที่ 5,2 ต าบล ปูยุด
1.4 ภูมิอากาศ
บ้านปูยุดอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับ
พื้นที่ของหมู่บ้านรามงอยู่ใกล้กับชายฝั่งทะเลและใกล้แม่น้ าปัตตานีไหลผ่าน จึงมีอากาศเย็นสบายตลอดปี มี 2 ฤดู
คือ
1. ฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมกราคม
2. ฤดูฝน ระหว่างเดือนมกราคมของปีถัดไป
อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 26-28 องศาเซลเซียสโดยเฉลี่ย ปริมาณน้ าฝน 1,444.6 มิลลิเมตรต่อปี
1.5 ครัวเรือนและประชากร
บ้านปูยุด หมู่ที่ 7 มี จ านวน 690 ครัวเรือน มีประชากรทั้งสิ้น 2,346 คน ชาย 1,169 คน หญิง
1,170 คน
1.6 ศาสนา
นับถือศาสนาอิสลาม ประมาณ 2,178 คน คิดเป็นร้อยละ 100
นับถือศาสนาพุทธ ประมาณ - คน คิดเป็นร้อยละ 0
นับถือศาสนาคริสต์ ประมาณ - คน คิดเป็นร้อยละ 0
นับถือศาสนาอื่น ๆ ประมาณ - คน คิดเป็นร้อยละ 0
1.7 สถานที่ส าคัญทางศาสนา
1. มัสยิด จ านวน 1 แห่ง มัสยิด..................ยามีอุลเอี๊ยะซาน…………
2. สุเหร่า จ านวน 2 แห่ง
3. วัด จ านวน - แห่ง
4. โบสถ์ จ านวน - แห่ง
2. ประเพณีที่ส าคัญของชุมชน
ประชากรของต าบลปูยุดเกือบทั้งหมดนับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งมีขนบธรรมเนียมประเพณีและสิ่งยึดเหนี่ยว
ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อส่วนที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจ าวันและอาชีพของพวกชาวบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบ
อาชีพทางเกษตรกรรม
ขนบธรรมเนียมประเพณีมีดังต่อไปนี้
1. ประเพณีการเกิด เมื่อมารดาคลอดบุตรแล้ว สามีหรือผู้ที่มีความรู้ทางศาสนาจะ “อาซัน” หรือ “บัง”
(พูดกรอกหู) ให้กับทารก โดยจะกล่าวข้อความเกี่ยวกับการร าลึกถึงองค์อัลลอฮ. และนบีมูฮัมหมัด ผู้เป็นศาสดา
ของศาสนาอิสลาม หลังจากทารกคลอดแล้วประมาณ 7 วัน ก็จะมีพิธีโกนผมไฟ ตั้งชื่อและอากีกะห์ ซึ่งจะกระท าไป
พร้อมกันในคราวเดียวกันก็ได้
2. ประเพณีเข้าสุนัด (มาโซะยาวี) เป็นพิธีการที่เป็นแนวทางหรือแบบที่ปฏิบัติตามท่านนบี ท่านเคยได้
กระท ามาแล้วและส าหรับการใช้ค าที่แทน”การเข้าอิสลาม” หรือ พิธีขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย “ซึ่งค าว่ามา
โซะยาวีใช้กับคนที่ไม่ใช่เป็นมุสลิม ” เข้ารีตถืออิสลาม ส่วนสุนัดเป็นพิธีพึงปฏิบัติส่วนผู้ที่ท าการขลิบหนังหุ้มอวัยวะ
เพศ คือ มูดีน
3. ประเพณีแต่งงาน การกระท าพิธีของไทยมุสลิมก็ยึดถือปฏิบัติ กฎ และหลักเกณฑ์ตามลัทธิอิสลาม ซึ่งมี
ข้อแตกต่าง จากชาวไทยพุทธ คือ ผู้ชายที่สามารถแต่งงานกับผู้หญิงได้ในขณะเดียวกัน 4 คน แต่มีข้อแม้คือจะต้อง
ดูได้ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการช่วยเหลือหญิงหม้าย หญิงอนาถา และยังมีข้อบังคับต่าง ๆ เช่น ถ้าสามีออกจากบ้านเกิน 3
วัน โดยไม่ได้รับการยินยอมจากภรรยาฟ้องร้องต่อคณะกรรมการอิสลามก็ต้องมีการพิจารณาและสามีจะต้องให้เงิน
ค่าเลี้ยงดู หรือสามีออกจากบ้านเกิน 6 เดือน โดยไม่ได้รับการยินยอมจากภรรยา ถือว่าหมดสภาพการเป็นสามี
ภรรยา การท าพิธีแต่งงานก็ต้องมีการลงชื่อ โต๊ะอีหม่าม เจ้าบ่าว เจ้าสาว บิดาฝ่ายหญิง และพยาน ในหนังสือส าคัญ
เพื่อเป็นหลักฐาน อันเป็นพิธีเสร็จสมบูรณ์ การแต่งงานตามประเพณีนิยมในหมู่บ้าน ฝ่ายหญิงจะเชิญญาติบิดา
มารดามาร่วมพิธีเรียกว่า “มาแกปูโล๊ะ ” (กินเหนียว) ส่วนฝ่ายชายจะเชิญญาติมิตรฝ่ายตน เรียกว่า เชิญมา
“มางือนา” คือเชิญมารู้จักเจ้าสาวและก็มีการร่วมรับประทานอาหารกัน
4. ประเพณีมาแกปูโล๊ะ (กินเหนียว) งานกินเหนียวหรือมาแกปูโล๊ะนี้ความจริงไม่ใช่กินเหนียวโดยตรง แต่
เชิญไปกินข้าวธรรมดา สันนิษฐานว่าเดิมคงใช้ข้าวเหนียวจึงเปลี่ยนมากินข้าวจ้าว ประเพณีมาแกปูโล๊ะสมัยก่อน
หมายถึง การกินเลี้ยงเนื่องในพิธีแต่งงาน และพิธีสุนัดเท่านั้น แต่ปัจจุบันมาแกปูโล๊ะมีความหมายกว้างออกไปถึง
งานเลี้ยงในงานมงคลต่าง ๆ เช่น งานเลี้ยงส่งบุตรไปศึกษาต่อ
5. ประเพณีการท าศพ การท าศพในศาสนาอิสลาม 4 ประเภท
5.1. การอาบน้ าศพ ชาเถอ จะห้ามอาบน้ าศพและละหมาด ให้น าศพไปฝังได้เลยเพราะถือว่าเป็น
ศพที่ดีในทางที่ดีที่สุด และถ้าศพตายปกติ ศพทารก และศพที่ตายอย่างกะทันหันจะมีการอาบน้ า
5.2 การห่อศพ ศพชายห่อ 1-3 ชั้น ส่วนศพผู้หญิงห่อ 5 ชั้น
5.3 การละหมาดให้ศพ ผู้ท าพิธีต้องมีอย่างน้อย 3 คนขึ้นไป
5.4 การฝังศพ ชาวไทยมุสลิมจะมีการฝังศพอย่างเดียวไม่มีการเผา โดยจะวางศพให้นอนตะแคง
ไหล่ขวาลง โดยหันหน้าไปทางอัลกะบะฮ ณ นครเมกกะ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศไทย
6. การบริจาคซากาต เป็นเรื่องการท าบุญไม่ใช่ประเพณี แต่เป็นเรื่องทางศาสนา ซึ่งการบริจาคซากาตนี้
ชาวมุสลิมทั้งหลายบริจาคทรัพย์สินที่เหลือใช้ให้แก่ผู้ยากจน ผู้ซึ่งมีสิทธิรับบริจาคซากาต คือ คนอนาถา ผู้ขัดสน
เจ้าหน้าที่รัฐบาลได้รับแต่งตั้งให้รวบรวมซากาต ผู้เลื่อมใสนับถือศาสนาอิสลามระยะแรก แต่มีความยากจน ทาสที่
นายทุนท าสัญญาให้ไปหาเงินค่าไถ่ต้องปลดปล่อยเป็นไท
นอกจากนี้ ยังมีวันส าคัญในศาสนาอิสลามตามคตินิยมของไทยมุสลิมภาคใต้
1. วันศุกร์ ชายมุสลิมจะต้องท าพิธีละหมาดที่มัสยิด โดยจะท าพิธีในตอนบ่าย โดยมี “คอเต็บ”ของมัสยิด
เป็นองค์ปาฐกฐา ซึ่งถ้าไปไม่ถึง 3 ครั้ง ติดต่อกันถือว่า ยกเว้นผู้ที่เจ็บป่วยได้ไข้
2. วันปอซอ (วันถือศีลอด) ชาวมุสลิมจะต้องถือศีลอด คือ ไม่กินอาหารและไม่ให้สิ่งใด ๆ เข้าไปในร่างกาย
ตั้งแต่รุ่งสางจนถึงตะวันพลบค่ าเป็นเวลา 1 เดือน ในเดือนที่ 9 ในปฏิทินอาหรับ เพื่อให้เห็นถึงความหิวจะได้มีจิตใจ
เห็นอกเห็นใจผู้อื่นด้วยและมีชื่อเรียกว่าเดือน “รอมฎอน”
3. วันฮารีรายอปอซอ (วันตรุษ) เป็นวันที่สิ้นสุดการถือ ศีลอด ซึ่งมีการท าขนมต่าง ๆ แจกจ่ายและเลี้ยง
ฉลองกัน ซึ่งจะท ากันก่อน 1 วัน และเมื่อถึงวันฮารีรายอปอซอ จะไปมัสยิดหรือสุเหร่าเพื่อท าการละหมาด เพื่อแผ่
ผลบุญให้แก่ผู้ตาย ตลอดจนการไปเยี่ยมญาติพี่น้อง
4. วันฮารีรายอฮัจยี (วันรายอฮัจ) เป็นวันที่ส าคัญที่สุดอย่างยิ่งกว่าวันตรุษใด ๆ เนื่องจากชาวมุสลิม
ประกอบพิธีฮัจยี ณ นครเมกกะ ตรงกับวันที่ 10 และเหมือนกับวันฮารีรายอปอซอ แต่เพิ่มการท ากุรบาน คือการ
ฆ่าสัตว์ เช่น วัว ควาย แพะ แกะ เพื่อท าทานซึ่งเนื้อสัตว์นี้จะน ามาท าอาหารเลี้ยง หรือแจกจ่ายกันไป
3. สภาพเศรษฐกิจ
3.1 อาชีพ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลัก คือ รับจ้าง อาชีพรอง คือ เกษตรกรรม, ปศุสัตว์
และรับราชการ ผลผลิตทางการเกษตร ได้แก่ ถั่วฝักยาว,ถั่วลิสง,แตงกวา เป็นต้น
3.2 ธุรกิจ 23 แห่ง
ร้านค้า 12 แห่ง
โรงสี - แห่ง
ร้านซ่อมรถ 1 แห่ง
ร้านจ าหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้า 4 แห่ง
ร้านจ าหน่ายโทรศัพท์มือถือ 6 แห่ง
อื่น ๆ - แห่ง
4. สภาพทางสังคม
4.1 การศึกษา
4.1.1 โรงเรียนประถมศึกษา 1 แห่ง
ชื่อโรงเรียน....................โรงเรียนชุมชนบ้านปูยุด.........................................
4.1.2 โรงเรียนมัธยมศึกษา - แห่ง
4.1.3 โรงเรียนเอกชนสอนศาสนา - แห่ง
4.1.4 โรงเรียนตาดีกา - แห่ง
ชื่อโรงเรียน.....................ศูนย์ตาดีกามัสยิดปาซาเปาะเดร์..............................
4.1.5 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก - แห่ง
4.1.6 ที่อ่านหนังสือประจ าหมู่บ้าน 1 แห่ง
4.2 สาธารณสุข
4.2.1 ศสมช . - แห่ง
4.2.2 ร้านขายยาแผนปัจจุบัน - แห่ง
4.2.3 ร้านขายยาแผนโบราณ - แห่ง
5. การคมนาคมในหมู่บ้าน
บ้านปูยุด หมู่ที่ 7 ต าบลปูยุด รถยนต์โดยสารประจ าทางสาย ปัตตานี-ยะลา และสามารถใช้บริการ
รถจักรยานยนต์รับจ้างเพื่อเข้าในหมู่บ้าน หรือใช้รถจักรยานยนต์หรือรถยนต์ส่วนตัว
6. การบริการพื้นฐาน
6.1 การโทรคมนาคม
โทรศัพท์สาธารณ - เครื่อง
สัญญาณโทรศัพท์ที่ได้รับชัดเจน
- คลื่น Dtac เสาส่งสัญญาณตั้ง ณ ต าบลปูยุด
- คลื่น Gsm เสาส่งสัญญาณตั้ง ณ ต าบลปูยุด
- คลื่น True เสาส่งสัญญาณตั้ง ณ ต าบลปูยุด
- TOT wireless (ไร้สาย) เสาส่งสัญญาณตั้ง ณ ต าบลปูยุด
6.2 แหล่งน้ าธรรมชาติ
ในหมู่บ้านมีแหล่งน้ าธรรมชาติ - แห่ง แยกเป็น
คลอง - แห่ง
ห้วย - แห่ง
หนองน้ า - แห่ง
แม่น้ า 1 แห่ง
6.3 แหล่งน้ าที่สร้างขึ้น
ฝาย/พนังกั้นน้ า - แห่ง
บ่อโยก - แห่ง
คลองส่งน้ า - แห่ง
บ่อน้ าตื้น 7 แห่ง
บ่อบาดาล 3 แห่ง
สระน้ า - แห่ง
ประปาหมู่บ้าน 1 แห่ง
ครัวเรือนที่ได้รับประโยชน์ 527 ครัวเรือน
ครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ 527 ครัวเรือน
7. รายได้ของประชากร
* ครัวเรือนที่มีรายได้สูงกว่า 23,000 บาท/คน/ปี จ านวน 527 ครัวเรือน
* ครัวเรือนที่มีรายได้ต่ ากว่า 23,000 บาท/คน/ปี จ านวน - ครัวเรือน
* รายได้เฉลี่ยของประชากรของหมู่บ้าน จ านวน 39,683 บาท
8. ข้อมูลกลุ่มเศรษฐกิจชุมชน
- กลุ่มสมาชิกเลี้ยงปลาดุก
- กลุ่มสมาชิกเลี้ยงนกกระทา
- กลุ่มสมาชิกเลี้ยงเป็ดเทศ
- กลุ่มแม่บ้านผลิตโรตีกรอบ
- กลุ่มเยาชนผลิตเรือกอและจ าลอง
- กลุ่มเลี้ยงไก่ชนพื้นเมือง
- กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายมุสลิม
9. ข้อมูลด้านการปกครอง กลุ่มและองค์กรในชุมชน
1. นายอายุบ มูเล็ง ประธานกรรมการ
2. นายอุสมัน อับรู ประธานกรรมการ
3. นายเจะอามะ เจะเด็ง เลขานุการและคณะกรรมการ
4. นายสมัย ตะโละมีแย ผช.เลขานุการและคณะกรรมการ
5. นายมามุ มาปะ กรรมการ
6. นายมูฮ ามะรอเซะ สะรีเดะ กรรมการ
7. นายมะซากี ยุโกะ กรรมการ
8. นายบือราเฮง และเจ๊าะ กรรมการ
9. นายมะยูโซะ ลาดอ กรรมการ
10.นายอับดุลมานัต โตะฮิเล กรรมการ
11.นางอัสรา มะยีแต กรรมการ
12.นายบือราเฮง กาแบ กรรมการ
13.นายอับดุลอาซิ เจะกา กรรมการ
10. ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ปราชญ์ชาวบ้านได้แก่
* ขนมโบราณ
* การท าเครื่องจักสานจากไม้ไผ่ของกลุ่มผู้สูงอายุในหมู่บ้าน
การวิเคราะห์จุดเด่น-จุดด้อยของหมู่บ้าน (SWOT)
จุดแข็ง
มีแหล่งน้ าที่สามารถหล่อเลี้ยงพื้นที่ได้ตลอดทั้งปี
หมู่บ้านมีความพร้อมในการพัฒนาระดับหมู่บ้าน
สถานที่ตั้งของหมู่บ้านตั้งอยู่ใกล้ตัวเมืองจังหวัดปัตตานี
มีเส้นทางคมนาคมสะดวก
ผู้น าท้องถิ่นมีความรู้ ความสามารถในการประสานความร่วมมือระหว่างราชการกับประชาชนได้
เป็นอย่างดี
จุดอ่อน
การประกอบอาชีพเพาะปลูกส่วนมากเป็นแบบดั้งเดิมไม่มีการพัฒนาท าให้ผลผลิตไม่มากเท่าที่ควร
ประชาชนให้ความส าคัญกับการศึกษาน้อย
ปัญหาเรื่องสื่อภาษา ในหมู่ผู้สูงอายุมักประสบปัญหาในการใช้สื่อภาษา(ภาษาไทย) เพื่อการ
ติดต่อสื่อสาร
ปัญหาเรื่องขยะและสิ่งแวดล้อม
โอกาส
แนวโน้มในการใช้งบประมาณในการพัฒนามากขึ้น
หน่วยงานของทางราชการ รวมทั้งองค์กรท้องถิ่น(อบต.)มีความพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือชุมชน
เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่และอาชีพของเกษตรกร
อุปสรรค
งบประมาณในการพัฒนาหมู่บ้านน้อยมาก
ประชาชนไม่ค่อยได้มีส่วนร่วมในการบริหารงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรมา
ประชาชนขาดเงินทุนในการประกอบอาชีพ
ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจในการประกอบอาชีพ
******************************************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น