อาณาจักรปัตตานี (มลายู: كراجأن ڤتاني; Kerajaan Patani) ตั้งอยู่ทางตอนใต้ ของประเทศไทย ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสในปัจจุบัน ไม่มีข้อ สรุปแน่ชัดว่าอาณาจักรปัตตานีถือกำเนิดขึ้นเมื่อใด และใครเป็นผู้ก่อตั้ง แต่น่าจะมีความ
สืบเนื่องไปถึงสมัยลังกาสุกะ ซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 11 เดิมอาณาจักร ปัตตานีนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน แต่ในราวพุทธศตวรรษที่ 21 ได้เริ่ม เปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม
โดยบางช่วงอาณาจักรแผ่ขยายครอบคลุมถึงกลันตันและตรังกานู ตอนกลางของมาเลเซีย แต่หลังการสิ้นสุดราชวงศ์ศรีวังสา อาณาจักรปัตตานีก็เริ่มเสื่อมลง
จนตกอยู่ในอำนาจของสยามในปี พ.ศ. 2329 และกลายเป็นเมืองขึ้นเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2445 ก็ถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสยามประเทศ
รายาฮิเยาขณะทรงพระคชาธารเมืองปัตตานีพัฒนาขึ้นมาจากหมู่บ้านเล็กๆ ริมฝั่งทะเล เมื่อมีเรือสินค้ามาจอดแวะอยู่บ่อยๆ เมืองก็ขยายตัวออกไป มีผู้คนมาอาศัยหนาแน่น รายาศรีวังสาจึงย้ายเมืองหลวงจาก "โกตามะห์ลิฆัย" เมืองหลวงเก่า มายัง ปัตตานี สมัยนั้นการติดต่อกับต่างชาติ โดยเฉพาะอินเดียและอาหรับได้ส่งผลสำคัญคือการยอมรับนับถือศาสนาอิสลาม
โดยตาม ตำนานกล่าวว่าชาวปาไซทำการรักษาอาการป่วยของรายาอินทิราที่ไม่มีใครสามารถรักษาให้หายได้ พระองค์จึงยินยอมรับ นับถือศาสนาอิสลาม และการดัดแปลงอักษรอาหรับเป็นอักษรยาวี นอกจากนี้ยังติดต่อกับอาณาจักรอยุธยาอย่างใกล้ชิด ดังที่ ปรากฏในปี พ.ศ. 2106 ว่ากองทัพปัตตานีได้เดินทางมาถึงอยุธยา และได้ก่อความวุ่นวายขึ้น
จากเหตุการณ์นี้ทำให้ความสัมพันธ์กับอยุธยาตกต่ำลง ขณะที่เหตุการณ์ภายในก็เต็มไปด้วยการแย่งชิงอำนาจในหมู่เครือ ญาติเรื่อยมา จนกระทั่งไม่มีผู้สืบทอดอำนาจหลงเหลือ บัลลังก์รายาจึงตกเป็นของสตรีในที่สุด
อาณาจักรปัตตานีในช่วงสมัยรายาฮีเยา(พ.ศ. 2127-2159) ถึงรายากูนิง (พ.ศ. 2178-2231) ซึ่งล้วนเป็นกษัตรีย์ ถือเป็น อาณาจักรของชาวมลายูที่มี ความรุ่งเรืองมากที่สุด หลังจากมะละกาตกเป็นเมืองขึ้นของโปรตุเกส ทำให้ปัตตานีกลายเป็น ศูนย์กลางการค้าขายและมีความรุ่งเรืองมาก ดังบันทึกของชาวต่างชาติว่า
“พลเมืองปัตตานีมีชายอายุ 16-60 ปี อยู่ถึง 150,000 คน เมืองปัตตานีมีผู้คนหนาแน่น เต็มไปด้วยบ้านเรือน บ้านเรือนราษฎรนับตั้งแต่ประตูราชวังถึงตัวเมืองปลูกสร้างเรียงรายไม่ขาดระยะ หากว่ามีแมวเดินบนหลังคาบ้านหลังแรกไปยังหลังสุดท้าย ก็เดินได้โดยไม่ต้องกระโดดลงบนพื้นดินเลย”
แต่หลังจากรายาบีรูสวรรคตในปี 2167 รายาอูงูซึ่งเสด็จกลับมาจากปาหังก็ตัดสัมพันธ์กับอยุธยา ทรงยุติการส่งบรรณาการแด่อยุธยา ยกทัพตีเมืองพัทลุงและนครศรีธรรมราช พระนางยังให้พระธิดากูนิง ภรรยาของออกญาเดโช อภิเษกกับสุลต่านแคว้นยะโฮร์ ด้วยเหตุเหล่านี้ทำให้พระเจ้าปราสาททองทรงส่งกองทัพเข้าโจมตีเมืองปัตตานีในปี พ.ศ. 2177 แต่ไม่อาจเอาชนะได้
เมื่อถึงปี พ.ศ. 2178 รายาอูงูเสด็จสวรรคต นำไปสู่การเจริญสัมพันธไมตรีที่แน่นแฟ้นของ 2 อาณาจักรขึ้นใหม่ในช่วงสั้นๆ ปัตตานีส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทองแก่อยุธยาตามเดิม และรายากูนิงเสด็จเยือนกรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. 2184 แต่ความสัมพันธ์กับกลันตันกลับตกต่ำลง ราชวงศ์ศรีวังสาสิ้นสุดลง
เมื่อกองทัพกลันตันยกทัพตีเมืองปัตตานีแตกในปี พ.ศ. 2231 รายากูนิงเสด็จหนีไปแคว้นยะโฮร์ และสิ้นพระชนม์ลงระหว่างทางที่แคว้นกลันตัน หลังจากนั้นมาอาณาจักรปัตตานีก็ไม่สามารถกลับมารุ่งเรืองได้อย่างเก่าอีก และอยู่ภายใต้การปกครองของกลันตัน เศรษฐกิจที่ซบเซาทำให้อาณาจักรอ่อนแอลง
“พลเมืองปัตตานีมีชายอายุ 16-60 ปี อยู่ถึง 150,000 คน เมืองปัตตานีมีผู้คนหนาแน่น เต็มไปด้วยบ้านเรือน บ้านเรือนราษฎรนับตั้งแต่ประตูราชวังถึงตัวเมืองปลูกสร้างเรียงรายไม่ขาดระยะ หากว่ามีแมวเดินบนหลังคาบ้านหลังแรกไปยังหลังสุดท้าย ก็เดินได้โดยไม่ต้องกระโดดลงบนพื้นดินเลย”
และ “ปัตตานีมีแคว้นต่างๆ อยู่ภายใต้การปกครองถึง 43 แคว้น รวมทั้งตรังกานู และกลันตันด้วย”
ในสมัยรายาฮิเยา การติดต่อค้าขายกับต่างชาติเจริญรุ่งเรืองมาก มีเรือสินค้าเข้ามาเทียบท่าอย่างไม่ขาดสาย และเริ่มการค้ากับฮอลันดา สเปน และอังกฤษเป็นครั้งแรกพระองค์ยังพระราชทานพระขนิษฐาอูงูแก่สุลต่านแคว้นปาหัง เพื่อคานอำนาจกับแคว้นยะโฮร์ ต่อมาในสมัยรายาบีรู ปัตตานีและกลันตันรวมตัวกันเป็นสหพันธรัฐปตานี และทรงพระราชทานพระธิดากูนิง ธิดาของพระขนิษฐาอูงูกับสุลต่านแคว้นปาหัง แก่ออกญาเดโช บุตรเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช
หลังจากรายาบีรูสวรรคตในปี 2167 รายาอูงูซึ่งเสด็จกลับมาจากปาหังก็ตัดสัมพันธ์กับอยุธยา ทรงยุติการส่งบรรณาการแด่อยุธยา ยกทัพตีเมืองพัทลุงและนครศรีธรรมราช พระนางยังให้พระธิดากูนิง ภรรยาของออกญาเดโช อภิเษกกับสุลต่านแคว้นยะโฮร์ ด้วยเหตุเหล่านี้ทำให้พระเจ้าปราสาททองทรงส่งกองทัพเข้าโจมตีเมืองปัตตานีในปี พ.ศ. 2177
แต่ไม่อาจเอาชนะได้ เมื่อถึงปี พ.ศ. 2178 รายาอูงูเสด็จสวรรคต นำไปสู่การเจริญสัมพันธไมตรีที่แน่นแฟ้นของ 2 อาณาจักรขึ้นใหม่ในช่วงสั้นๆ ปัตตานีส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทองแก่อยุธยาตามเดิม และรายากูนิงเสด็จเยือนกรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. 2184 แต่ความสัมพันธ์กับกลันตันกลับตกต่ำลง ราชวงศ์ศรีวังสาสิ้นสุดลง เมื่อกองทัพกลันตันยกทัพตีเมืองปัตตานีแตกในปี พ.ศ. 2231 รายากูนิงเสด็จหนีไปแคว้นยะโฮร์ และสิ้นพระชนม์ลงระหว่างทางที่แคว้นกลันตัน หลังจากนั้นมาอาณาจักรปัตตานีก็ไม่สามารถกลับมารุ่งเรืองได้อย่างเก่าอีก และอยู่ภายใต้การปกครองของกลันตัน เศรษฐกิจที่ซบเซาทำให้อาณาจักรอ่อนแอลง
ในปี พ.ศ. 2329 รัชกาลที่ 1 ทรงยกทัพตีเมืองปัตตานีไว้ได้ ปัตตานีจีงเป็นประเทศราชของสยามตั้งแต่บัดนั้น กองทัพสยามยึดเอาทรัพย์สมบัติและปืนใหญ่ที่หล่อในสมัยรายาบีรูไป 3 กระบอก แต่เหลือมาถึงกรุงเทพเพียง 1 กระบอก คือปืนใหญ่พญาตานีปัจจุบันอยู่หน้ากระทรวงกลาโหม แต่ความไม่พอใจต่อการปกครองของชาวสยาม ก่อให้เกิดกบฏครั้งใหญ่ 4 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2334 และ พ.ศ. 2351 ในสมัยรัชกาลที่ 2 ทรงแยกอาณาจักรปัตตานีเป็น 7 หัวเมือง และในปี พ.ศ. 2374 และ พ.ศ. 2381 ในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงตัดสินพระทัยให้ราชวงศ์กลันตันปกครองปัตตานีต่อมา กระทั่งปีพ.ศ. 2445 รัชกาลที่ 5 ทรงเตรียมการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล
การปกครองโดยราชวงศ์กลันตันจึงยุติลง และถือเป็นปีสิ้นสุดของอาณาจักรปัตตานี ซึ่งกลายเป็นส่วนหนึ่งของสยามโดยสมบูรณ์ มณฑลปัตตานีก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2449 แต่ถึงปีพ.ศ. 2466 ชาวบ้านจำนวนมากก็ออกมาชุมนุมประท้วงข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่น รัชกาลที่ 6 จึงทรงออกพระบรมราโชบายสำหรับมณฑลปัตตานี เมื่อ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 ไว้ 6 ข้อเพื่อแก้ไขความไม่เป็นธรรมของเจ้าหน้าที่และข้าราชการ และนำไปสู่การยุบมณฑลปัตตานีเป็น 3 จังหวัด คือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จนถึงทุกวันนี้
แต่ถึงกระนั้นยังคงมีการชุมนุมประท้วงการปกครองจากรัฐบาลอยู่เสมอ เช่น พ.ศ. 2482 จอมพล ป. พิบูลสงครามได้จัดตั้งสภาวัฒนธรรม บังคับให้ประชาชนสวมหมวก แต่งกายแบบไทย ทำตามวัฒนธรรมไทย ห้ามพูดภาษามลายู ฯลฯ รวมกับการกดขี่จากเจ้าหน้าที่รัฐจนลุกลามไปเป็นกบฏดุซงญอในพ.ศ. 2491
มีผู้เสียชีวิตกว่า 400 คน ตามมาด้วยการชุมนุมยืดเยื้อกว่า 45 วันของชาวจังหวัดปัตตานีนับแสนคนที่หน้ามัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี ในปี 2518 หลังจากการวิสามัญฆาตกรรมชาวบ้าน 5 ศพ นำไปสู่เหตุวุ่นวายที่มีผู้ชุมนุมเสียชีวิต 12 ราย และการประท้วงของชาวบ้านกว่า 3 หมื่นคน ในพ.ศ. 2528 เมื่อกระทรวงศึกษาธิการออกคำสั่งให้ประดิษฐานพระพุทธรูปในโรงเรียน และอีก 3 ปีต่อมา ก็ออกคำสั่งห้ามคลุมศีรษะ(ฮิญาบ) เข้าสถานศึกษา หรือ กรณีมัสยิดกรือเซะ ที่มีผู้เสียชีวิต 107 คน และเหตุการณ์ตากใบ ซึ่งมีผู้เสียชีวิตอีกกว่า 84 คน ซึ่งก่อนหน้านั้นได้มีการยักหยอกปืนของหลวงเพื่อใช้ก่อความไม่สงบ
ประวัติและอาณาเขต, ปัตตานี
ปัตตานี เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลตะวันออก ของภาคใต้สุดติดกับทะเลจีนใต้ หรืออ่าวไทยมีพื้นที่ประมาณ 2,052 ตร.กม. และเป็นจังหวัดที่มี ขนาดเล็กเป็นอันดับ 2 ของภาคใต้ รองลงมาจากจังหวัดภูเก็ต ภูเขาที่สำคัญได้แก่ ภูเขาทรายขาว ซึ่งอยู่ในเทือกเขาสันกะลาคีรี มีแม่น้ำที่สำคัญ 2 สาย คือแม่น้ำตานี และแม่น้ำสายบุรี ภูมิอากาศอบอุ่นตลอดปี ฤดูกาลมี 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน และฤดูฝนโดยฝนจะตกชุกระหว่างเดือน ธันวาคม-มกราคม
ในอดีต จังหวัดปัตตานีเป็นจังหวัดที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก เป็นเมืองเก่าแก่ที่ยิ่งใหญ่ เคยมีฐานะเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรลังกาสุกะ ซึ่งเป็นรัฐอิสระของชาวไทยพุทธในพุทธศตวรรษที่ 7 มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่จังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส กลันตัน และตรังกานูในมาเลเซีย
ปัจจุบันยังมี ซากเมืองเก่า ของปัตตานีในยุคนั้นปรากฏให้เห็นที่ อำเภอยะรังในปัจจุบัน และจากการที่มีพื้นที่เป็นป่าเขา และมีพื้นที่ติด ชายฝั่งทะเลเป็นระยะทางยาวประมาณ 170 กิโลเมตรจึงเป็นเมืองท่าที่สำคัญ และเป็นศูนย์กลางการ ปกครอง การค้า และวัฒนธรรมมีทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวหลายด้าน ทั้งด้านธรรมชาติ โบราณสถาน ทางประวัติศาสตร์และด้านประเพณีวัฒนธรรม
ท่องเที่ยว
การปกครอง
ปัตตานีแบ่งการปกครองออกเป็น 12 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอสายบุรี อำเภอโคกโพธิ์ อำเภอยะหริ่ง อำเภอปะนาเระ อำเภอมายอ อำเภอหนองจิก อำเภอยะรัง อำเภอไม้แก่น อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอกะพ้อ และอำเภอแม่ลาน
อาณาเขต
ทิศเหนือ จดกับจังหวัดสงขลา
ทิศใต้ จดกับจังหวัดนราธิวาส และจังหวัดยะลา
ทิศตะวันออก จดจังหวัดยะลา และจังหวัดสงขลา
ทิศตะวันตก จดกับอ่าวไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น